“แผ่นโปร่งแสงที่ดีต้องไม่มีฟอง”

แล้วทำไมฟองอากาศในแผ่นจึงมีผลกับคุณภาพของแผ่นโปร่งแสง?

เพราะฟองอากาศเมื่อเกิดในแผ่นแล้วก็จะทำให้เกิดพื้นที่ว่างในเนื้อของเรซิ่น หากฟองอากาศไปอยู่ในบริเวณใต้ผิวของชั้นฟิล์มก็จะทำให้ผิวฟิล์มบริเวณนั้นเป็นจุดที่มีโอกาสเปราะแตกได้ง่าย หากฟองอากาศมีหลายจุดในแผ่นหลังคาก็ยิ่งมีโอกาสที่จะทำให้เสียหายได้มาก

นอกจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้แล้ว การที่แผ่นโปร่งแสงมีฟองอากาศภายในอยู่มากก็จะทำให้ผู้ซื้อได้เนื้อแผ่นโปร่งแสงที่ไม่เต็ม เพราะเนื้อแผ่นอาจจะหายไปในส่วนที่เป็นฟองอากาศ เหมือนกับการจ่ายเงินเต็มจำนวนแต่ได้ของไม่ครบตามที่ตกลงไว้

สาเหตุของการเกิดฟองอากาศ ในเนื้อแผ่นโดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจาก การผลิตแผ่นโปร่งแสงด้วยเทคโนโลยีการแห้งตัวด้วยระบบเคมี (Chemical cure) ซึ่งเป็นรูปแบบการผลิตรูปแบบเก่า ทำให้แผ่นโปร่งแสงไม่แห้งตัวสมบูรณ์ในระบบการผลิตจึงทำให้เกิดฟองอากาศได้ รวมถึงมีสารสไตรีน (Styrene)ซึ่งเป็นสารพิษตกค้างภายในแผ่นด้วย

แผ่นโปร่งแสง อินโน-คอนส์ ผลิตด้วยเทคโนโลยี CHP อันทันสมัย จากประเทศนิวซีแลนด์ เป็นการผลิตที่ทำให้แผ่นโปร่งแสงแห้งตัวด้วยความร้อน (Thermoseting) โดยใช้อุณหภูมิสูงถึง 130 องศาเซลเซียส จึงทำให้แผ่นโปร่งแสงที่ผลิตได้แห้งตัวสมบูรณ์ตั้งแต่ในไลน์การผลิต ไม่มีโอกาสในการเกิดฟองอากาศในเนื้อแผ่น

จะเห็นได้ว่าฟองอากาศเล็ก ๆ อาจจะสร้างปัญหาใหญ่ในอนาคตได้ แผ่นโปร่งแสงที่ดีจึงต้องไม่มีฟองอากาศในแผ่น สำหรับการตรวจสอบด้วยวิธีการดูจากฟองอากาศอาจจะเป็นวิธีเบื้องต้นที่สามารถทำได้ง่ายๆ ในครั้งหน้า อินโน-คอนส์ จะมาพูดถึงวิธีการเลือกแผ่นโปร่งแสงว่าจะต้องเลือกอย่างไรจึงจะได้แผ่นโปร่งแสงที่มีคุณภาพ

แผ่นโปร่งแสงที่ดีต้องไม่มีฟอง

แผ่นโปร่งแสงชนิดไฟเบอร์กลาสเป็นที่นิยมมากขึ้น ทั้งการใช้ในรูปแบบอุตสาหกรรม และการใช้ในบ้านเรือน แต่หลายคนอาจจะไม่ทราบวิธีการเลือกแผ่นโปร่งแสงชนิดนี้ ว่าจะต้องเลือกหรือดูจากจุดใดจึงจะได้แผ่นโปร่งแสงที่มีคุณภาพ

วิธีหนึ่งที่สามารถตรวจสอบแผ่นโปร่งแสงว่าดีหรือไม่ สามารถสังเกตได้จากฟองอากาศในเนื้อแผ่น (Air Bubble) ซึ่งเราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากแผ่นโปร่งแสงมีฟองอากาศปรากฏอยู่มาก นั่นหมายถึงแผ่นโปร่งแสงนั้นมีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายได้มากและเสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด