สำหรับท่านเจ้าของบ้านหรือเจ้าของโครงการที่กำลังเลือกวัสดุมุงหลังคาเป็นแผ่นหลังคาเมทัลชีท มาดูกันว่าแผ่นหลังคาเมทัลชีทที่วางขายในท้องตลาดเรามีออฟชั่นอะไรให้เราเลือกนำไปใช้งานติดตั้งกันบ้าง
1. ชั้นเคลือบของแผ่นหลังคาเหล็ก แผ่นหลังคาเมทัลชีท
ตัวแผ่นหลังคาเมทัลชีทนี้ทำหน้าที่บังแดด บังลม กันฝนให้กับโครงสร้างของอาคาร ดังนั้นแผ่นหลังคาเหล็ก หลังคาเมทัลชีท จึงมีหลายเกรดเพื่อการเลือกใช้ที่เหมาะสมกับพื้นที่และการใช้งาน ซึ่งเราสามารถแบ่งตามระดับการใช้งานตามความทนทานได้ดังนี้
1.1 แผ่นหลังคาเหล็ก หลังคาเมทัลชีท เกรด AZ 150 ความหนาตั้งแต่ 0.4-1.6 มม. คำว่า AZ นั้นเป็นต่อย่อของ Aluminium + Zinc ที่เป็นสารเคลือบที่ใช้กับแผ่นเหล็ก ตัวเลขด้านหลังคาเป็นตัวบ่งบอกความหนาแน่นของสารเคลือบ โดยที่ แผ่นหลังคาเกรดนี้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะไอกรด ละอองเกลือ ความชื้นในอากาศ หรือมลพิษต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อม ได้เป็นอย่างดี มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ส่วนใหญ่จะใช้งานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพราะลดความเสี่ยงที่จะต้องมีเครื่องจักรชำรุดเสียหาย หรือต้องหยุดไลน์ผลิต เพื่อทำการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษางานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพราะลดความเสี่ยง
1.2 แผ่นหลังคาเหล็ก หลังคาเมทัลชีท เกรด AZ 50-90 ความหนาตั้งแต่ 0.2-1.0 มม. แผ่นหลังคาเกรดนี้มีความทนทานต่อมลภาวะต่าง ๆ ระดับปานกลาง แต่สามารถมีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้หากใช้ในบริเวณในสภาพแวดล้อมมีมลพิษน้อย จึงนิยมนำไปใช้งานกับอาคารที่พักอาศัย
หมายเหตุ ความหนาและชั้นเคลือบของ แผ่นหลังคาเหล็ก หลังคาเมทัลชีท ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายที่สต๊อกสินค้า อาจจะมีให้เลือกได้ไม่มาก แต่หลักการในการเลือกใช้ก็ให้พิจารณาจากผลลัพท์ปลายทางเป็นหลักซึ่งสังเกตุได้จากการรับประกัน
2. เกรดความหนาของเหล็กและการรับแรงดึง
หลังคาเมทัลชีทนั้นมีหลายความหนา ในแต่ละความหนาก็มีค่าการรับแรงดึงที่ต่างกันไป ซึ่งความหนาและค่าการรับแรงดึงนั้น เป็นค่าที่จะบ่งบอกถึงความแข็งแรงทนทานต่อแรงลมพายุและแรงต่างๆที่จะกระทำต่อหลังคา เกรดของเหล็กที่นิยมใช้ในการทำแผ่นหลังคา ได้แก่
2.1 เกรด G550 เหล็กแรงดึงสูงสามารถรับแรงดึงก่อนฉีกขาดไม่ต่ำกว่า 550 MPa* เป็นเหล็กที่นิยมนำมาประกอบเป็นชิ้นส่วนตัวถังรถยนต์
2.2 เกรด G300 เหล็กแรงดึงสูงสามารถรับแรงดึงก่อนฉีกขาดไม่ต่ำกว่า 300 MPa* เป็นเหล็กที่นิยมนำมาประกอบเป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ
*ค่าการรับแรงต่อตารางมิลลิเมตร หากมีความหนาที่เพิ่มขึ้น ก็จะมีค่าแรงการรับแรงดึงที่สูงขึ้นตามไปด้วย
3. ฉนวนกันความร้อน
แผ่นหลังคาเมทัลชีท แผ่นหลังคาเหล็กสามารถเลือกให้ตัวแทนจำหน่ายติดฉนวนกันความร้อนมาให้เราได้เลย โดยในปัจจุบันนจะมีตัวเลือกอยู่ 2 ตัวเลือก
3.1 ฉนวน PE (โพลีเอทธิลีนโฟม) มีความหนา 4-5 มม. ปิดทับด้วยอลูมิเนียมฟอยล์เพื่อป้องกันความร้อน ช่วยลดอุณหภูมิที่ส่องผ่านลงมาได้ 3-4 องศา การติดตั้งสามารถติดตั้งโดยใช้กาวรีดเข้ากับลอนหลังคา หรือสามารถซื้อฉนวน PE ที่มีคุณภาพสูง ติดตั้งแยกโดยนำไปวางไว้ใต้แผ่นหลังคา หรือเหนือฝ้าก็ได้
3.2 ฉนวน PU (โพลียูรีเทนโฟม) มีความหนา 20-25 มม. มีลักษณะเป็นโฟมแข็ง มีความหนาแน่นต่ำ นำมาตัดเข้ารูปกับแผ่นหลังคา จากนั้นแปะติดกับแผ่นหลังคาด้วยกาวและปิดทับผิวด้านล่างด้วยพลาสติกสะท้อนสีเงิน สีขาว หรือสีดำ สามารถลดอุณหภูมิได้สูงสุดถึง 10-20 องศา มีทั้งแบบติดเข้ากับลอนหลังคาหรือสามารถเลือกใช้การฉีดพ่นใต้แผ่นหลังคาภายหลัง (ฉีดพ่นภายหลังไม่นิยมใช้งานในจุที่มองเห็นเพราะขาดความเรียบร้อย)
จากทั้งหมดที่ได้เรียบเรียงมา จะเห็นได้ว่า ปัจจัยการเลือกวัสดุความแข็งแรงและความทนทานขึ้นอยู่กับคุณภาพของชั้นเคลือบเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นในฐานะ บ. อินโน-คอนส์ เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสกรูหลังคาเหล็ก ฟิกซ์-เขียว และ ฟิกซ์-3 จึงอยากแนะนำให้เลือกใช้สกรูที่เหมาะสมด้วย เพราะสกรูที่ดีช่วยเพิ่มคุณภาพติดตั้งป้องกันสกรูถอย สกรูเด้ง ป้องกันการรั่วซึม ทำให้วัสดุหลังคาใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ไม่ผุกร่อน ก่อนถึงอายุการใช้งานของหลังคา ลองไปดูงบประมาณที่เรารวบรวมข้อมูลเอาไว้ให้ครับ
ชุดที่ 1 หลังคาเหล็กเกรด AZ 150 + ฉนวน PU 300-400 บาท/ตรม. สกรูฟิกซ์-3 ความยาว 3 นิ้ว + กับราคาสกรู 50 บาท/ตรม. เพื่อให้อายุการใช้งานเทียบเท่ากับหลังคาที่มีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 20 ปี ในเขตอุตสาหกรรมปานกลาง
ชุดที่ 2 หลังคาเหล็กเกรด AZ 70-90 + ฉนวน PU 200-300 บาท/ตรม. สกรูฟิกซ์-เขียว X-Tite STL 3 นิ้ว + กับราคาสกรู 20 บาท/ตรม. เพื่อให้อายุการใช้งานเทียบเท่ากับหลังคาที่มีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 15 ปี ในเขตพื้นที่อยู่อาศัย ไม่ติดชายฝั่งทะเล
จากงบประมาณการเลือกซื้อแผ่นหลังคามาเมื่อนำมาจับคู่กับงบประมาณการเลือกซื้อหลังคา การซื้อสกรูหลังคาเหล็กฟิกซ์-เขียว จะให้เห็นว่างบประมาณของสกรูเป็นเพียงแค่ 3-5% ของงานเพียงเท่านั้น การประหยัดโดยใช้สกรูที่มี ราคาถูก แต่คุณภาพไม่ดี จะส่งผลเสียหายให้กับงานมูลค่าใหญ่อย่างหลังคาได้